Intelligent system for glaucoma diagnosis based on optical coherence tomography angiography images
ระบบชาญฉลาดเพื่อการวินิจฉัยโรคต้อหินจากภาพถ่ายเส้นเลือดจอประสาทตาระดับจุลภาค
นิสิตผู้ทำวิจัย:
อาจารย์ที่ปรึกษา:
แพทย์หญิง อนิตา มนัสสากร
วัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาระบบชาญฉลาดสำหรับการวินิจฉัยโรคต้อหินจากภาพถ่ายเครื่องวิเคราะห์เส้นเลือดจอประสาทตาระดับจุลภาค (OCTA) และประเมินความถูกต้อง
เพื่อหาลักษณะเด่นในการวินิจฉัยโรคต้อหิน จากภาพถ่ายจากเครื่องวิเคราะห์เส้นเลือดจอประสาทตาระดับจุลภาค (OCTA)
แนวคิด เหตุผล หรือสมมติฐาน
โรคต้อหิน เป็นสาเหตุของภาวะตาบอดถาวรอันดับ 1 ของโลก ซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่แน่นอน มีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญคือการมีความดันตาสูง และภาวะอื่นที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรรมพันธุ์ การเปลี่ยนแปลงของเส้นเลือด ระบบภูมิคุ้มกันและอื่นๆ โรคต้อหินมีความท้าทายในการตรวจวินิจฉัยเนื่องจากความแตกต่างของลักษณะขั้วประสาทตา ทำให้มีความแปรปรวนจากการตรวจ ทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ไม่ถูกต้อง วิธีมาตรฐานในการตรวจวินิจฉัยโรคต้อหิน คือการตรวจโครงสร้างของขั้วประสาทตา และตรวจการทำงานของเส้นประสาทโดยลานสายตา การตรวจโครงสร้าง ได้แก่ การตรวจขั้วประสาทตาด้วยภาพถ่ายจอประสาทตา ภาพถ่ายจากเครื่องวิเคราะห์จอประสาทตาระดับจุลภาค (optical coherence tomography; OCT) และเนื่องจากปัจจัยส่วนหนึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงในเส้นเลือด จึงได้มีการนําเครื่องวิเคราะห์เส้นเลือดจอประสาทตาระดับจุลภาค (Optical coherence tomography angiography; OCTA) เพื่อศึกษาลักษณะของเส้นเลือดในจอประสาทตา ซึ่งให้ข้อมูลด้านปริมาณเพื่อการวินิจฉัยและติดตามโรคที่แม่นยํามากขึ้น ปัจจุบันได้มีการนำระบบชาญฉลาด (artificial intelligence) มาใช้ในการวิเคราะห์โรคทางตาจากภาพถ่าย ได้แก่ เบาหวานขึ้นจอตา ความผิดปกติที่จอตาจากการคลอดก่อนกำหนด ในงานวิจัยนี้ จะได้นำระบบชาญฉลาดมาช่วยในการวินิจฉัยโรคต้อหินจากภาพถ่าย OCTA