top of page

ทุนโครงการหลังป.เอก

ทุนหลังปริญญาเอก กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช



หลักเกณฑ์การให้ทุน

  1. ทุนหลังปริญญาเอกประเภททั่วไป (Postdoctoral Fellowship): มีผลงานทางวิชาการตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการระดับนานาชาติสำหรับสายวิทยาศาสตร์ หรือวารสารทางวิชาการระดับนานาชาติหรือระดับชาติสำหรับสายสังคมศาสตร์-มนุษยศาสตร์

  2. ทุนหลังปริญญาเอกประเภทอุตสาหกรรม (Industrial Postdoctoral Fellowship): มีผลงานทางวิชาการตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการระดับนานาชาติสำหรับสายวิทยาศาสตร์ หรือวารสารทางวิชาการระดับนานาชาติหรือระดับชาติสำหรับสายสังคมศาสตร์-มนุษยศาสตร์ และโครงการวิจัยของอาจารย์หรือนักวิจัยที่ปรึกษา เป็นโครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนจากภาคอุตสาหกรรม เอกชน รัฐวิสาหกิจ หรือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกับภาคอุตสาหกรรม เอกชน หรือรัฐวิสาหกิจ

  3. ทุนหลังปริญญาเอกประเภทผู้มีประสบการณ์วิจัย (Senior Postdoctoral Fellowship): มีประสบการณ์ในการวิจัยอย่างต่อเนื่องติดต่อกันไม่น้อยกว่าสามปีที่ผ่านมา หรือผ่านการรับทุนหลังปริญญาเอกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยติดต่อกันไม่น้อยกว่าสองปีที่ผ่านมา และมีผลงานวิจัยที่เป็นชื่อแรกเฉลี่ยอย่างน้อยสองเรื่องต่อปี ที่ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการระดับนานาชาติที่อยู่ในฐานข้อมูล ISI หรือ SCOPUS ในช่วงระยะเวลาสามปีที่ผ่านมาสำหรับผู้รับทุนที่มีประสบการณ์ในการวิจัยทั่วไป หรือช่วงระยะเวลาสองปีที่ผ่านมาสำหรับผู้ที่ผ่านการรับทุนหลังปริญญาเอกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


ภารกิจผู้รับทุน

ผลงานทางวิชาการต้องมีผู้รับทุนเป็นชื่อแรก หรือผู้วิจัยหลักที่ระบุสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเท่านั้น ยกเว้นผู้รับทุนเป็นชื่อร่วมที่ระบุการมีส่วนร่วมเท่ากับ (equal contribution) ชื่อแรกหรือผู้วิจัยหลัก หรือรายชื่อเรียงตามตัวอักษรและผู้รับทุนมีส่วนร่วมเป็นหลักและต้องระบุกิตติกรรมประกาศในผลงานตีพิมพ์ว่า "ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยโครงการทุนหลังปริญญาเอก กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" โดยที่คุณภาพและจำนวนของผลงานทางวิชาการตามเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่งดังนี้

  1. ผลงานเป็นเลิศทางวิชาการ: ต้องเผยแพร่ในวารสารทางวิชาการระดับนานาชาติที่อยู่ในฐานข้อมูล ISI หรือ Scopusโดยมีจำนวนผลงานเผยแพร่ขั้นต่ำ ดังต่อไปนี้

    1. ผู้รับทุนหลังปริญญาเอกประเภททั่วไป หรือประเภทอุตสาหกรรม

      1.  บทความวิจัย Q1 หรือ Q2 หนึ่งฉบับต่อปี หรือ 

      2.  บทความวิจัยที่อยู่ในอันดับสูงสุดร้อยละสิบ หนึ่งฉบับต่อสองปี หรือ

      3. บทความวิจัย Q1 หรือ Q2 หนึ่งฉบับ และบทความวิชาการ (review article) หนึ่งฉบับต่อสองปี

    2. ผู้รับทุนหลังปริญญาเอกประเภทผู้มีประสบการณ์วิจัย

      1. บทความวิจัยสองฉบับต่อปี โดยที่อย่างน้อยหนึ่งฉบับเป็น Q1 หรือ Q2 หรือ

      2. บทความวิจัยที่อยู่ในอันดับสูงสุดร้อยละสิบ หนึ่งฉบับต่อปี หรือ

      3.  บทความวิจัยที่อยู่ในอันดับสูงสุดร้อยละสิบ หนึ่งฉบับ และบทความวิชาการ (review article) หนึ่งฉบับต่อสองปี

  2. ผลงานเป็นประโยชน์ต่อวงวิชาการ อุตสาหกรรม เชิงพาณิชย์ สังคมหรือวัฒนธรรมไทย: ต้องมีหลักฐานการใช้ประโยชน์หรือจะใช้ประโยชน์ดังกล่าว ตามที่คณะกรรมการบริหารกองทุนรัชดาภิเษกสมโภชหรือตามที่คณะกรรมการบริหารบัณฑิตวิทยาลัยกำหนด


จำนวนเงินทุน

  1. แบบทั่วไปหรืออุตสาหกรรม:

    1. เงินเดือน 40,000-42,500 บาท/เดือน แล้วแต่กรณี (12 เดือน)

    2. ที่พัก CU iHouse สำหรับนักวิจัยมีที่พักอยู่นอกเขตปริมณฑล หรือมีความจำเป็นโดยคณะกรรมการบริหารบัณฑิตวิยาลัยพิจารณาตามความเหมาะสมเป็นราย ๆ ไป ประสงค์เข้าพัก  7,000 บาท/เดือน

    3. ประกันสุขภาพ ตามจ่ายจริง ไม่เกิน 10,000 บาท/ปี รายการคุ้มครองตามที่กำหนด

  2. นักวิจัยผู้มีประสบการณ์วิจัย:

    1. เงินเดือน 55,000-57,500 บาท/เดือน (12 เดือน)

    2. ที่พัก CU iHouse สำหรับนักวิจัยมีที่พักอยู่นอกเขตปริมณฑล หรือมีความจำเป็นโดยคณะกรรมการบริหารบัณฑิตวิยาลัยพิจารณาตามความเหมาะสมเป็นราย ๆ ไป ประสงค์เข้าพัก  10,000 บาท/เดือน

    3. ประกันสุขภาพ ตามจ่ายจริง ไม่เกิน 10,000 บาท/ปี รายการคุ้มครองตามที่กำหนด


ระยะเวลาการรับทุน

มหาวิทยาลัยให้ทุนสนับสนุนในระยะแรกเป็นเวลาสองปีหรือสามปีแล้วแต่กรณี โดยจะพิจารณา ขอต่อระยะเวลารับทุนให้ครั้งละหนึ่งปี


การระงับทุน

  1. เมื่อผู้รับทุนขาดคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่ง หรือ

  2. อาจารย์หรือนักวิจัยที่ปรึกษาโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารบัณฑิตวิทยาลัย เห็นสมควรให้ระงับการให้ทุน กรณีไม่ปฏิบัติตามภาระงาน


การสมัครทุน

รายละเอียดเพิ่มเติม และ คู่มือการสมัคร: ที่นี่

Previous
Next
bottom of page